วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556
ประโยชน์ต่างๆ ของ น้ำมันกระเทียม ดีสำหรับ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และปัญหาคอเลสเตอรอล
ประโยชน์ต่างๆ ของ น้ำมันกระเทียม
น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) จากงานวิจัยของทีมแพทย์ไทย และ ข้อมูลวิชาการต่างๆ ของทางการแพทย์ทั่วโลก สามารถยอมรับละรับประกันได้ว่า น้ำมันกระเทียม สามารถป้องกันและรักษาโรคหลายชนิดที่เดี๋ยวนี้ คนส่วนมากเป็นกัน และมีการเกิดภาวะของโรคประมาณ 80 % ของคนไทย
โรคเบาหวาน น้ำมันกระเทียมให้สารกลูโคไคนิน (Glucokinin) กระตุ้นตับอ่อนให้สร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีการทดลองให้สารสกัดกระเทียมแก่กระต่ายที่ทำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan โดยให้ในขนาด 0.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 70 เมื่อเปรียบเทียบกับยา tolbutamide ส่วนสาร allicin มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้พอๆ กับ tolbutamide
โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และปัญหาคอเลสเตอรอล มีปัจจัยสำคัญที่ทำ ให้เกิดโรคหัวใจส่วนใหญ่ เนื่องมาจากการสะสมเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งกระเทียมมีส่วนช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด จากการวิจัยพบว่าสารประกอบซัลเฟอร์ในกระเทียมโดยเฉพาะอัลลิซิน สามารถลดปริมาณโคเลสเตอรอลรวม และ โคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-cholesterol) ได้ดีเพราะอัลลิซินสามารถยับยั้งการทำงานของ HMG-COA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์โคเลสเตอรอล สำหรับกรณีผู้ที่มีปัญหาระดับโคเลสเตอรอลสูงมากกว่า 210 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรเสริมด้วยน้ำมันสกัดจากถั่วเหลืองหรือเลซิตินควบคู่กับกระเทียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้ดียิ่งขึ้น แต่กรณีผู้ที่มีปัญหาระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงทั้งคู่ควรเสริม ด้วยน้ำมันปลา โอเมก้า-3 ควบคู่กับกระเทียม จะช่วยลดทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอรไรด์ได้ รวมทั้งน้ำมันปลายังมีผลในเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) ที่มีหน้าที่ในการนำโคเลสเตอรอลที่สะสมและอุดตันในหลอดเลือดกลับไปทำลายหรือ เผาผลาญที่ตับ ดังนั้นหากสามารถเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) เพียง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 3-4% ส่วนการทดลองทางคลินิกพบว่าเมื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียมกับคนปรกติและ คนไข้โรคหัวใจที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูง ในขนาด 0.25 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. เป็นเวลา 10 เดือนพบว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง นอกจากนี้เมื่อให้กระเทียมสดกับคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูงในขนาดครั้งละ 25 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 25 วัน พบว่า 1/3 ของคนไข้มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัด
โรคความดันโลหิตสูง จากผลวิจัยยังพบว่า กระเทียมสกัดยังช่วยลดการจับแข็งตัวของลิ่มเลือดกับก่อนไขมันในหลอดเลือดได้ เป้นอย่างดี จากการยับยั้งเอนไซม์ Thromboxane ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น
เสริมภูมิต้านทาน ลดภูมิแพ้ สารสำคัญในน้ำมันกระเทียม คือ อัลลิซิน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายโดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ด เลือดขาวเช่น Macrophages และ T-lymphocyte เพิ่มขึ้น เมื่อร่างกายเรามีเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลในการช่วยบรรเทาและลด อาการภูมิแพ้ นอกจากนี้กระเทียมมีฤทธิ์ที่เปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะ ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา จากการทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์กระเทียมในรูปแบบต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีผลในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค หลายชนิดรวมทั้งเชื้อ Klebsiella pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม และเชื้อ Mycobacterium tuberculosis อันเป็นสาเหตุของวัณโรค โดยเฉพาะเชื้อวัณโรคได้มีการทดลองให้น้ำมันกระเทียมในผู้ป่วยวัณโรคปรากฏว่า ได้ผลดี และพบว่าสารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เป็นสารจำพวก sulfide ดังนั้นกระเทียมจึงมีส่วนในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการแพ้ต่างๆ และลดอาการเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด หอบหืด ไซนัส หูอักเสบ เป็นต้น และกรณีที่เสริมด้วยการรับประทานวิตามินเช่น วิตามินซีควบคู่กับน้ำมันกระเทียมพบว่าจะช่วยบรรเทาและลดความถี่ของการเกิด โรคภูมิแพ้ เนื่องจากทั้งวิตามินซีและน้ำมันกระเทียมจะเสริมฤทธิ์กันในการกระตุ้นให้ เกิดการสร้างเม็ดเลือดขาวของร่างกายเพิ่มมากขึ้นส่งเสริมให้ภูมิต้านทานของ ร่างกายดีขึ้นอย่างชัดเจน
ป้องกันโรคมะเร็ง และต้านสารอนุมูลอิสระ จากการวิจัยพบว่าสาร ตัวหนึ่งในกระเทียมชื่อ S-allylmercaptocysteine ช่วยลดการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ถึง 50% และสาร allyl sulfides ช่วยลดการผลิตเอนไซม์ phase 1 ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์และนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็งได้ กระเทียมจึงสามารถป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งได้ดีเยี่ยม นอกจากนั้นซีลีเนียม (Selenium) ที่พบในกระเทียมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและลดอันตรายจากการเกิดอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็งที่อวัยวะต่างๆ
ลดอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ภาวะอาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องเฟ้อ และท้องอืด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง เสียดท้องหรือท้องอืด โดยกระเทียมสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุก เสียด ท้องเสีย และกระเทียมยังมีฤทธิ์ขับน้ำดีทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น
ลดอาการอักเสบและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยกระเทียมไปออกฤทธิ์ต้านสารสังเคราะห์ Prostaglandin และกระเทียมยังมีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กด้วย
เมื่อเราเห็น ประโยชน์มากมายที่มีอยู่ในกระเทียม ถ้าหากสามารถบริโภคกระเทียมให้ได้ปริมาณสารสำคัญที่มากพอในแต่ละวัน กระเทียมจะสามารถช่วยป้องกันร่างกายให้ห่างจากโรคร้ายได้เป็นอย่างดี แต่สารสำคัญของกระเทียมโดยเฉพาะอัลลิซินยังมีคุณสมบัติไม่คงตัว สลายตัวได้ง่าย เพียงสัมผัสกับความร้อนแค่ 6 วินาที สารสำคัญอัลลิซินที่อยู่ในกระเทียมจะหมดไปทันที ดังนั้นน้ำมันกระเทียมสกัดในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นอีกทางเลือก หนึ่งที่สามารถรักษาคุณค่าของสารสำคัญที่มีอยู่ในกระเทียมได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังสะดวกในการรับประทาน ไม่ต้องพบกับปัญหาเรื่องรสชาดและกลิ่นที่จะตามมาอีกด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น